เมนู

ที่ท่านตรัสว่า ทิฏฐิสมนุปัสสนาอย่างนี้ว่า พิจารณาเห็นรูปโดยเป็นตน
ฉะนั้นจึงชื่อว่า ทุกขสมุทยคามินี สมนุปัสสนา. มรรคญาณ 4 พร้อม
ด้วยวิปัสสนา ตรัสว่า สมนุปัสสนา ในคำนี้ว่า ทุกฺขนิโรธคามินี
สมนุปสฺสนา
ดังนี้. ในสูตรนี้ท่านกล่าววัฏฏะและพระนิพพานไว้
ด้วยประการฉะนี้
จบ อรรถกถาปฏิปทาสูตรที่ 2

3. อนิจจสูตรที่ 1



ว่าด้วยความเป็นไตรลักษณ์แห่งขันธ์ 5



[91] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใด
ไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็น
อนัตตา เธอทั้งหลายพึงเห็นสิ่งนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา
เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ จิตย่อมคลายกำหนัด
ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น เวทนาไม่เที่ยง...
สัญญาไม่เที่ยง... สังขารไม่เที่ยง... วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง
สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา
เธอทั้งหลายพึงเห็นสิ่งนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เมื่อเห็นด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ จิตย่อมคลายกำหนัด ย่อม
หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.